2-The river has the ability to heal itself naturally. แม่น้ำมีความสามารถในการบำบัดตัวเองตามธรรมชาติ
- เดิมที แม่น้ำสามารถบำบัด(สิ่งสกปรก/มลพิษ)ตัวเอง ได้โดยการเจือจาง, ตกตะกอน, ดูดซับและย่อยสลายทางชีวภาพ
แต่เมื่อไม่นานมานี้ มลพิษทางน้ำมีความรุนแรงมากขึ้น จึงยากที่จะฟื้นฟูให้กลับมาดังเดิม
- จุลินทรีย์ในแม่น้ำคือผู้มีบทบาทในการบำบัดตามธรรมชาติ
เมื่อมีการปล่อยน้ำเสียจากภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมลงไปในแม่น้ำแล้ว น้ำเสียดังกล่าวจะถูกกระบวนการบำบัดแบบผสมผสานทั้งการเจือจาง, การดูดซับ, การตกตะกอน, และการย่อยสลายทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ เนื่องจากจุลินทรีย์มีการใช้ออกซิเจนในการกำจัดของเสียในน้ำ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงไปชั่วขณะ* ในทางกลับกันพืชเซลล์เดียว(Diatom) จะมีปริมาณมากขึ้นและดูดซึมก๊าชคาร์บอนได์ออกไซด์ และปล่อยก๊าซออกซิเจนละลายกลับมาในน้ำให้เพิ่มขึ้นดังเดิม
ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่ากิจกรรมการดำรงชีพของจุลินทรีย์ก่อให้เกิดการสลายตัวของสารอินทรีย์(ของเสียที่มากับน้ำเสีย)ในน้ำ ทำให้เกิดการบำบัดตามธรรมชาติ
* หากจะจำกันได้ มีตัวอย่างเหตุการณ์เรือน้ำตาลล่มในแม่น้ำ น้ำตาลจำนวนมากละลายในแม่น้ำ ส่งผลให้ค่าออกซิเจนละลายน้ำลดลดกระทันหัน ปลาในแม่น้ำตายเป็นจำนวนมาก ตามข้อมูลลิงค์ด้านล่าง
https://mgronline.com/qol/detail/9500000028857
http://www.pcd.go.th/info_serv/water_chaoprayariver.cfm
http://www.pcd.go.th/info_serv/water_chaoprayariver.cfm
หากสำรวจใต้แม่น้ำที่สะอาดจะพบว่ามีชั้นไบโอฟิล์มลื่นไเกาะอยู่ที่ก้อนหินก้อนกรวด ชั้นไบโอฟิล์มดังกล่าวเกิดจากสาหร่ายชนิดต่างๆ เช่น พืชเซลล์เดียว สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ฯลฯ รวมถึงแบคทีเรียที่มีส่วนช่วยในการบำบัดน้ำเสียในแม่น้ำ
นอกหนือไปจากนี้ เป็นทีทราบกันดีว่าป่าชายเลน, ป่ากก ที่อยู่ริมน้ำในภูมิภาคเอเซียตะวันนออกเฉียงใต้ และที่อื่นๆ มีความสามารถในการดูดซับของเสียต่างๆ รวมถึงสิ่งมีชีวิตในทะเลก็มีความสามารถบำบัดของเสียได้เช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรดำรงชีวิตภายใต้ขอบเขต ที่ไม่เป็นการรบกวนความสามารถในการบำบัดของแม่น้ำและธรรมชาติ
อนึ่ง สารเคมีที่ปล่อยมาจากกิจกรรมภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมนั้น แม้จะมีความเข้มข้นเพียงน้อยนิด แต่ก็อาจส่งผลต่อพันธุกรรมของมนุษย์และระบบนิเวศวิทยาได้ เนื่องจากสารเคมีดังกล่าวไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติ แม่น้ำจึงไม่มีความสามารถในการบำบัดหรือย่อยสลายให้จางลงไปได้ ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาถึงวิธีการกำจัด, สลายสารเคมีดังกล่าว ก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ
Keys
- ชั้นไอโอฟิล์มที่เกาะอยู่ตามก้อนหินใต้แม่น้ำ มีส่วนช่วยในการบำบัดน้ำเสีย
- เราควรให้ความสำคัญในการดำรงชีวิตภายใต้ขอบเขต ที่ไม่เป็นการรบกวนความสามารถในการบำบัดของแม่น้ำ
- สารเคมีที่อยู่ในน้ำเสียในกิจกรรมภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ยากในการย่อยสลายทางชีวภาพ
Reference
Qualita Technology Co., Ltd. https://www.qualitagroup.net/
Ph.D. Hiromutsu Wada
ความคิดเห็น